ระดับชุด 004 - ภาพบรรยากาศแม่โจ้สมัยก่อน และภาพอาจารย์และภรรยาอาจารย์

ภาพหมู่ อาจารย์และภรรยา แม่โจ้ รับหรือส่งที่สถานีรถไฟ ภาพอาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย ตีเทนนิส ณ สโมสรอาจารย์ แม่โจ้ ภาพหมู่ นักกีฬาเทนนิส ณ สโมสรอาจารย์ แม่โจ้ ภาพบรรยากาศในแม่ใจ้ ภาพบรรยากาศบนหลิ่งมื่น แม่โจ้ ภาพงานเลี้ยง ภาพงานเลี้ยง ภาพงานเลี้ยงสังสรรค์ ภาพงานเลี้ยงสังสรรค์ ภาพคุณครูโรงเรียนเทพศาสตร์
ผลลัพธ์ 1 to 10 of 66 Show all

พื้นที่Identity

รหัสอ้างอิง

TH MJUAR SP001/2559-004

ชื่อเรื่อง

ภาพบรรยากาศแม่โจ้สมัยก่อน และภาพอาจารย์และภรรยาอาจารย์

วันที่

  • 2016 - (การสะสม)

ระดับlของคำอธิบาย

ระดับชุด

ขนาดและสื่อ

65 ภาพ

ชื่อของผู้สร้าง

(1916-1984)

ประวัติศาสตร์ชีวประวัติ

ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2459 ที่บ้านสันกลาง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นบุตรคนที่ 7 ของนายบุญมา (บุตรเจ้ามหาชัย วังซ้าย) และ นางบัวเกี๋ยง วังซ้าย
ต้นตระกูลของ ศ.ดร.วิภาตนั้น มาจากเชียงแสน ชื่อพระยาหัวเวียงแก้ว และบรรดาลูกชายซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของท่าน นั้นก็คือ เจ้ามหาจักร์ เจ้ามหาชัย เจ้ามหาเทพ เจ้ามหาพรหม ทั้งหมดที่เอ่ยชื่อดังกล่าวถือเป็นต้นตระกูล “วังซ้าย”
เจ้ามหาจักร์นั้นสมรสกับธิดาของเจ้าวังซ้ายอันเป็นศักดินาเทียบวังซ้าย วังขวา แบบวังหน้าวังหลัง เมื่อเจ้าวังซ้ายทิวงคตลงในเวลาต่อมา เจ้ามหาจักร์ก็ได้รับการแต่งตั้งให้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าวังซ้ายจากเจ้าหลวง เมืองแพร่
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติใช้นามสกุลขึ้น ท่านจึงใช้ “วังซ้าย” เป็นนามสกุลสืบต่อมา
ส่วนเจ้าคุณปู่โดยตรงของท่าน ศ.ดร. วิภาต คือเจ้ามหาชัย นั้นมีบุตรชายชื่อ บุญมา วังซ้าย คือบิดาของท่าน ศ.ดร. วิภาต นั่นเอง
ศ.ดร. วิภาต มีพี่น้องรวม 8 คน ดังนี้
1 นายคำปัน วังซ้าย (ภายหลังเปลี่ยนสกุลเป็น “ชยันตราคม”)
2 นางคำป้อ วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามี “อินทราวุธ”)
3 นางคำป่าย ววังซ้าย (ใช้นามสกุลสามนีเป็น “โสภา”)
4 นางสมนา วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “ไพชยนตร์”)
5 นางไฮแก้ว วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “อนันตจิตร”)
6 นางบุญปั๋น วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “ทิพย์วิชัย”)
7 นายบุญศรี วังซ้าย (ภายหลังเพิ่มชื่อเป็น วิภาต บุญศรี วังซ้าย)
8 นางบัวเขียว วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “โกศัยเสวี” และชื่อใหม่เป็น “อรพรรณ”)
ชีวิตเมื่อเยาว์วัย
2476
ท่านเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ส่วนชั้นมัธยมศึกษานั้นเรียนที่โรงเรียนพิริยาลัย จังหวัดแพร่ จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 จากนั้นท่านจึงเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมปีที่ 7 ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2476
2477
ท่านเรียนอยู่ที่โรงเรียนยุพราชได้เพียงปีเดียว ก็ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ ขึ้นที่แม่โจ้ ท่านจึงย้ายมาเรียนต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เป็นรุ่นแรก เมื่อปี พ.ศ. 2477 ซึ่งถือเป็นรุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้ โดยมีพระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) เป็นอาจารย์ใหญ่และหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมแม่โจ้อีกด้วย ท่านย้ายมาเรียนแม่โจ้ก็เพราะเห็นว่า เมื่อจบการศึกษาที่แม่โจ้แล้วก็สามารถรับราชการในกระทรวงเกษตราธิการ มีโอกาสที่จะขยับขยายที่ทำงานและการเรียนต่อให้สูงขึ้นไปได้
2478
หลังจากเรียนจบ ในปี พ.ศ. 2478 อาจารย์วิภาต ได้เข้าบรรจุทำงานเป็นพนักงานเกษตกรรมผู้ช่วย ชั้น 2 ที่แผนกยาง กองขยายการกสิกรรม กรมเกษตรและการประมง จังหวัดสงขลา ระหว่างทำงานท่านได้เตรียมตัวตอดเวลาที่จะเรียนต่อ ท่านเล่าให้ฟังว่าท่านมักจะคุยกับพวกมาเลย์ ที่เขาใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดเพื่อฝึกหัดภาษาต่างประเทศ สมัยนั้นมีการติดต่อค้าขายกันระหว่างมาเลย์กับไทย และราชการอื่นๆ ท่านมีวิทยุเล็กๆ อยู่หนึ่งเครื่องเอาไว้เปิดฟังข่าวภาคภาษาต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา
2481
ท่านสามาถสอบชิงทุนหลวงเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศที่ฟิลิปปินส์ ในระดับปริญญาตรีที่คณะเกษตร มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ เมืองลอสบานยอส (University of the Philippines Los Banos : UPLB) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติโดยความช่วยเหลือสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ส่งทีมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยคอร์แนลมาช่วยด้านการศึกษาที่คณะเกษตรและป่าไม้แห่งนี้ ท่านเลือกเรียนสาขาเศรษฐศาสตร์ ตามความต้องการของกรมเกษตรและการประมง โดยใช้เวลาศึกษาเพียงสามปีครึ่งก็จบการศึกษา
2484
ท่านได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์แม่โจ้ ในตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนานถึง 6 ปึ
2489
อาจารย์วิภาต ได้ลาออกจากราชการ ที่แม่โจ้ เพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ และได้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2491 มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ด้วยมรสุมทางการเมือง ท่านจึงอำลาชีวิตการเมือง ไปเป็นเกษตรกรทำไร่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
2497
หลวงปราโมทย์ จรรยาวิภาต ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดีกรมอาชีวศึกษาขณะนั้น ขอร้องให้ท่านไปช่วยแม่โจ้ เป็นช่วงที่ขาดผู้บริหารโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ เพราะเสียดายวิชาความรู้ ความสามารถ อยากให้ไปช่วยปรับปรุงแม่โจ้ ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอก ของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ กองโรงเรียนเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้ทำหน้าที่บริหารสถานศึกษาเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร ในปี พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2526
2500
ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ได้รับทุนดูงานในประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจบโครงการดูงานก็ได้รับอนุมัติให้อยู่ศึกษาต่อจนจบการศึกษาระดับปริญญาโท (M.S.in Agr.) จากมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา (Oklahoma State University) ปี พ.ศ. 2502
2527
ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ และรับพระราชทานปริญญา “เทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์”

ประวัติจดหมายเหตุ

แหล่งเอกสารหรือหน่วยงานหรือผู้มอบหรือโอนย้ายเอกสาร

เนื้อหาและโครงสร้างของเอกสาร

ขอบเขตและเนื้อหา

การประเมินคุณค่าการทำลายและการกำหนดอายุการเก็บเอกสาร

การเพิ่มขึ้นของเอกสาร

ระบบการจัดเรียงเอกสาร

ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการเข้าถึงและการใช้เอกสาร

เงื่อนไขที่กำกับดูแลการเข้าถึง

งื่อนไขที่กำกับดูแลการทำสำเนา

ภาษาของเอกสาร

สคริปเอกสาร

หมายเหตุภาษาและตัวอักษร

ลักษณะทางกายภาพและทางเทคนิคที่มีผลต่อการใช้เอกสาร

เครื่องมือช่วยค้นเอกสารจดหมายเหตุ

ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เกี่ยวข้อง

สถานที่เก็บเอกสารต้นฉบับ

สถานที่เก็บเอกสารฉบับสำเนา

หน่วยของคำอธิบายที่เกี่ยข้อง

Related descriptions

ส่วนหมายเหตุ

Alternative identifier(s)

จุดเชื่อมต่อ

จุดเชื่อมเรื่อง

ชื่อจุดเข้าถึง

Genre access points

พื้นที่ควบคุมการทำคำอธิบายเอกสาร

การทำคำอธิบายเอกสารidentifier

identifierของหน่วยงาน

กฎระเบียบและ / หรือข้อตกลง

สถานะ

ระดับของคําอธิบาย

วันที่สร้าง/แก้ไข/ลบ

ภาษา

  • ไทย

สคริป

แหล่ง

พื้นที่การเข้าถึงเอกสาร

Related subjects

Related people and organizations

Related genres