
Identity area
Reference code
TH MJUAR SP001/2559-008-204
Title
ภาพบรรยากาศงานศพที่จังหวัดแพร่ มี อ.วิภาตฯ ยืนใส่ชุดข้าราชการสีขาว
Date(s)
Level of description
Item
Extent and medium
1 รูป, ภาพขาวดำ
Name of creator
(1916-1984)
Biographical history
ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2459 ที่บ้านสันกลาง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นบุตรคนที่ 7 ของนายบุญมา (บุตรเจ้ามหาชัย วังซ้าย) และ นางบัวเกี๋ยง วังซ้าย
ต้นตระกูลของ ศ.ดร.วิภาตนั้น มาจากเชียงแสน ชื่อพระยาหัวเวียงแก้ว และบรรดาลูกชายซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของท่าน นั้นก็คือ เจ้ามหาจักร์ เจ้ามหาชัย เจ้ามหาเทพ เจ้ามหาพรหม ทั้งหมดที่เอ่ยชื่อดังกล่าวถือเป็นต้นตระกูล “วังซ้าย”
เจ้ามหาจักร์นั้นสมรสกับธิดาของเจ้าวังซ้ายอันเป็นศักดินาเทียบวังซ้าย วังขวา แบบวังหน้าวังหลัง เมื่อเจ้าวังซ้ายทิวงคตลงในเวลาต่อมา เจ้ามหาจักร์ก็ได้รับการแต่งตั้งให้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าวังซ้ายจากเจ้าหลวง เมืองแพร่
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติใช้นามสกุลขึ้น ท่านจึงใช้ “วังซ้าย” เป็นนามสกุลสืบต่อมา
ส่วนเจ้าคุณปู่โดยตรงของท่าน ศ.ดร. วิภาต คือเจ้ามหาชัย นั้นมีบุตรชายชื่อ บุญมา วังซ้าย คือบิดาของท่าน ศ.ดร. วิภาต นั่นเอง
ศ.ดร. วิภาต มีพี่น้องรวม 8 คน ดังนี้
1 นายคำปัน วังซ้าย (ภายหลังเปลี่ยนสกุลเป็น “ชยันตราคม”)
2 นางคำป้อ วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามี “อินทราวุธ”)
3 นางคำป่าย ววังซ้าย (ใช้นามสกุลสามนีเป็น “โสภา”)
4 นางสมนา วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “ไพชยนตร์”)
5 นางไฮแก้ว วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “อนันตจิตร”)
6 นางบุญปั๋น วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “ทิพย์วิชัย”)
7 นายบุญศรี วังซ้าย (ภายหลังเพิ่มชื่อเป็น วิภาต บุญศรี วังซ้าย)
8 นางบัวเขียว วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “โกศัยเสวี” และชื่อใหม่เป็น “อรพรรณ”)
ชีวิตเมื่อเยาว์วัย
2476
ท่านเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ส่วนชั้นมัธยมศึกษานั้นเรียนที่โรงเรียนพิริยาลัย จังหวัดแพร่ จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 จากนั้นท่านจึงเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมปีที่ 7 ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2476
2477
ท่านเรียนอยู่ที่โรงเรียนยุพราชได้เพียงปีเดียว ก็ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ ขึ้นที่แม่โจ้ ท่านจึงย้ายมาเรียนต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เป็นรุ่นแรก เมื่อปี พ.ศ. 2477 ซึ่งถือเป็นรุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้ โดยมีพระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) เป็นอาจารย์ใหญ่และหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมแม่โจ้อีกด้วย ท่านย้ายมาเรียนแม่โจ้ก็เพราะเห็นว่า เมื่อจบการศึกษาที่แม่โจ้แล้วก็สามารถรับราชการในกระทรวงเกษตราธิการ มีโอกาสที่จะขยับขยายที่ทำงานและการเรียนต่อให้สูงขึ้นไปได้
2478
หลังจากเรียนจบ ในปี พ.ศ. 2478 อาจารย์วิภาต ได้เข้าบรรจุทำงานเป็นพนักงานเกษตกรรมผู้ช่วย ชั้น 2 ที่แผนกยาง กองขยายการกสิกรรม กรมเกษตรและการประมง จังหวัดสงขลา ระหว่างทำงานท่านได้เตรียมตัวตอดเวลาที่จะเรียนต่อ ท่านเล่าให้ฟังว่าท่านมักจะคุยกับพวกมาเลย์ ที่เขาใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดเพื่อฝึกหัดภาษาต่างประเทศ สมัยนั้นมีการติดต่อค้าขายกันระหว่างมาเลย์กับไทย และราชการอื่นๆ ท่านมีวิทยุเล็กๆ อยู่หนึ่งเครื่องเอาไว้เปิดฟังข่าวภาคภาษาต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา
2481
ท่านสามาถสอบชิงทุนหลวงเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศที่ฟิลิปปินส์ ในระดับปริญญาตรีที่คณะเกษตร มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ เมืองลอสบานยอส (University of the Philippines Los Banos : UPLB) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติโดยความช่วยเหลือสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ส่งทีมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยคอร์แนลมาช่วยด้านการศึกษาที่คณะเกษตรและป่าไม้แห่งนี้ ท่านเลือกเรียนสาขาเศรษฐศาสตร์ ตามความต้องการของกรมเกษตรและการประมง โดยใช้เวลาศึกษาเพียงสามปีครึ่งก็จบการศึกษา
2484
ท่านได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์แม่โจ้ ในตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนานถึง 6 ปึ
2489
อาจารย์วิภาต ได้ลาออกจากราชการ ที่แม่โจ้ เพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ และได้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2491 มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ด้วยมรสุมทางการเมือง ท่านจึงอำลาชีวิตการเมือง ไปเป็นเกษตรกรทำไร่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
2497
หลวงปราโมทย์ จรรยาวิภาต ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดีกรมอาชีวศึกษาขณะนั้น ขอร้องให้ท่านไปช่วยแม่โจ้ เป็นช่วงที่ขาดผู้บริหารโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ เพราะเสียดายวิชาความรู้ ความสามารถ อยากให้ไปช่วยปรับปรุงแม่โจ้ ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอก ของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ กองโรงเรียนเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้ทำหน้าที่บริหารสถานศึกษาเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร ในปี พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2526
2500
ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ได้รับทุนดูงานในประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจบโครงการดูงานก็ได้รับอนุมัติให้อยู่ศึกษาต่อจนจบการศึกษาระดับปริญญาโท (M.S.in Agr.) จากมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา (Oklahoma State University) ปี พ.ศ. 2502
2527
ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ และรับพระราชทานปริญญา “เทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์”
ต้นตระกูลของ ศ.ดร.วิภาตนั้น มาจากเชียงแสน ชื่อพระยาหัวเวียงแก้ว และบรรดาลูกชายซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของท่าน นั้นก็คือ เจ้ามหาจักร์ เจ้ามหาชัย เจ้ามหาเทพ เจ้ามหาพรหม ทั้งหมดที่เอ่ยชื่อดังกล่าวถือเป็นต้นตระกูล “วังซ้าย”
เจ้ามหาจักร์นั้นสมรสกับธิดาของเจ้าวังซ้ายอันเป็นศักดินาเทียบวังซ้าย วังขวา แบบวังหน้าวังหลัง เมื่อเจ้าวังซ้ายทิวงคตลงในเวลาต่อมา เจ้ามหาจักร์ก็ได้รับการแต่งตั้งให้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าวังซ้ายจากเจ้าหลวง เมืองแพร่
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติใช้นามสกุลขึ้น ท่านจึงใช้ “วังซ้าย” เป็นนามสกุลสืบต่อมา
ส่วนเจ้าคุณปู่โดยตรงของท่าน ศ.ดร. วิภาต คือเจ้ามหาชัย นั้นมีบุตรชายชื่อ บุญมา วังซ้าย คือบิดาของท่าน ศ.ดร. วิภาต นั่นเอง
ศ.ดร. วิภาต มีพี่น้องรวม 8 คน ดังนี้
1 นายคำปัน วังซ้าย (ภายหลังเปลี่ยนสกุลเป็น “ชยันตราคม”)
2 นางคำป้อ วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามี “อินทราวุธ”)
3 นางคำป่าย ววังซ้าย (ใช้นามสกุลสามนีเป็น “โสภา”)
4 นางสมนา วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “ไพชยนตร์”)
5 นางไฮแก้ว วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “อนันตจิตร”)
6 นางบุญปั๋น วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “ทิพย์วิชัย”)
7 นายบุญศรี วังซ้าย (ภายหลังเพิ่มชื่อเป็น วิภาต บุญศรี วังซ้าย)
8 นางบัวเขียว วังซ้าย (ใช้นามสกุลสามีเป็น “โกศัยเสวี” และชื่อใหม่เป็น “อรพรรณ”)
ชีวิตเมื่อเยาว์วัย
2476
ท่านเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ส่วนชั้นมัธยมศึกษานั้นเรียนที่โรงเรียนพิริยาลัย จังหวัดแพร่ จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 จากนั้นท่านจึงเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมปีที่ 7 ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2476
2477
ท่านเรียนอยู่ที่โรงเรียนยุพราชได้เพียงปีเดียว ก็ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ ขึ้นที่แม่โจ้ ท่านจึงย้ายมาเรียนต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เป็นรุ่นแรก เมื่อปี พ.ศ. 2477 ซึ่งถือเป็นรุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้ โดยมีพระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) เป็นอาจารย์ใหญ่และหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมแม่โจ้อีกด้วย ท่านย้ายมาเรียนแม่โจ้ก็เพราะเห็นว่า เมื่อจบการศึกษาที่แม่โจ้แล้วก็สามารถรับราชการในกระทรวงเกษตราธิการ มีโอกาสที่จะขยับขยายที่ทำงานและการเรียนต่อให้สูงขึ้นไปได้
2478
หลังจากเรียนจบ ในปี พ.ศ. 2478 อาจารย์วิภาต ได้เข้าบรรจุทำงานเป็นพนักงานเกษตกรรมผู้ช่วย ชั้น 2 ที่แผนกยาง กองขยายการกสิกรรม กรมเกษตรและการประมง จังหวัดสงขลา ระหว่างทำงานท่านได้เตรียมตัวตอดเวลาที่จะเรียนต่อ ท่านเล่าให้ฟังว่าท่านมักจะคุยกับพวกมาเลย์ ที่เขาใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดเพื่อฝึกหัดภาษาต่างประเทศ สมัยนั้นมีการติดต่อค้าขายกันระหว่างมาเลย์กับไทย และราชการอื่นๆ ท่านมีวิทยุเล็กๆ อยู่หนึ่งเครื่องเอาไว้เปิดฟังข่าวภาคภาษาต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา
2481
ท่านสามาถสอบชิงทุนหลวงเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศที่ฟิลิปปินส์ ในระดับปริญญาตรีที่คณะเกษตร มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ เมืองลอสบานยอส (University of the Philippines Los Banos : UPLB) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติโดยความช่วยเหลือสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ส่งทีมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยคอร์แนลมาช่วยด้านการศึกษาที่คณะเกษตรและป่าไม้แห่งนี้ ท่านเลือกเรียนสาขาเศรษฐศาสตร์ ตามความต้องการของกรมเกษตรและการประมง โดยใช้เวลาศึกษาเพียงสามปีครึ่งก็จบการศึกษา
2484
ท่านได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์แม่โจ้ ในตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนานถึง 6 ปึ
2489
อาจารย์วิภาต ได้ลาออกจากราชการ ที่แม่โจ้ เพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ และได้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2491 มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ด้วยมรสุมทางการเมือง ท่านจึงอำลาชีวิตการเมือง ไปเป็นเกษตรกรทำไร่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
2497
หลวงปราโมทย์ จรรยาวิภาต ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดีกรมอาชีวศึกษาขณะนั้น ขอร้องให้ท่านไปช่วยแม่โจ้ เป็นช่วงที่ขาดผู้บริหารโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ เพราะเสียดายวิชาความรู้ ความสามารถ อยากให้ไปช่วยปรับปรุงแม่โจ้ ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอก ของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ กองโรงเรียนเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้ทำหน้าที่บริหารสถานศึกษาเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร ในปี พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2526
2500
ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ได้รับทุนดูงานในประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจบโครงการดูงานก็ได้รับอนุมัติให้อยู่ศึกษาต่อจนจบการศึกษาระดับปริญญาโท (M.S.in Agr.) จากมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา (Oklahoma State University) ปี พ.ศ. 2502
2527
ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ และรับพระราชทานปริญญา “เทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์”
Repository
Archival history
Immediate source of acquisition or transfer
Content and structure area
Scope and content
Appraisal, destruction and scheduling
Accruals
System of arrangement
Conditions of access and use area
Conditions governing access
Conditions governing reproduction
Language of material
Script of material
Language and script notes
Physical characteristics and technical requirements
Finding aids
Allied materials area
Existence and location of originals
Existence and location of copies
Related units of description
Notes area
Alternative identifier(s)
Access points
Subject access points
Place access points
Name access points
- วิภาต บุญศรี วังซ้าย (Creator)
Genre access points
Description control area
Description identifier
Institution identifier
Rules and/or conventions used
Status
Level of detail
Dates of creation revision deletion
Language(s)
Script(s)
Sources
Digital object metadata
Media type
Image
Mime-type
image/jpeg
Filesize
12.6 MiB
Uploaded
November 8, 2018 11:55 PM